บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้าขวาง
เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง ตลอดจนในการศึกษา จึงแสดงให้เห็นว่า ภาษาอังกฤษมีความสำคัญเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม วิทยาศาสตร์
และเทคโนโลยีด้วย
จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการแสดงและอธิบายความหมาย เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่วโลก การแปลจึงทวีความสำคัญมากขึ้นเนื่องจากประเทศไทยมีการติดต่อกับต่างประเทศในวงการต่างๆ
มากขึ้น
ช่วยเสริมสร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ประเทศให้เร็วยิ่งขึ้นโดยเฉพาะทางด้านเทคโนโลยี
การแปลในประเทศไทย
การแปลในประเทศไทยเริ่มมาตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชส่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆ
ในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทสำคัญในสังคมไทย
ตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางถึงกันได้สะดวกรวดเร็ว
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย เพื่อป้องกันการใช้ภาษาวิบัติ
และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้เรื่องพื้นฐานทางวัฒนธรรม
(Cultural backgrown) ผู้แปลจะต้องติดตามวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีตลอดเวลา
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การแปลในระดับมหาวิทยาลัยเป็นการสอนไวยากรณ์และโครงสร้างของภาษา รวมทั้งการอ่านเพื่อความเข้าใจ เนื่องจากนักศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้
และผู้ที่จะแปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดีแล้ว
โดยได้รับการฝึกฝนในเรื่องไวยากรณ์และโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ ไม่มีกาตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆ
ทั้งสิ้น
อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับเดิมอีกด้วยหากทำได้
วัตถุประสงค์ของการแปล
1.เป้าหมายที่สำคัญของการสอนแปล
คือการฝึกเพื่อผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2. การสอนแปลให้ได้ผล
ตามทฤษฎีวิชาแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับทักษะ 2 ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน
ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้
และสามารถอ่านถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ
3. ผู้สอนแปลต้องหาทางเร่งเร้าให้ผู้เรียนได้อ่านอย่างกว้างขวาง
มีการจัดกิจกรรมส่งเสริมให้มีการค้นคว้าเพื่อหาทางแก้ปัญหาด้วยตนเองจากหนังสืออ้างอิงหรือแหล่งวิชาการต่างๆ
4. ให้ผู้เรียนแปลได้พบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับนักแปลอาชีพหรือผู้ใช้บริการการแปล
เพื่อเป็นการเตรียมตัวก่อนที่จะไปประกอบอาชีพหรือการไปดูงานการทำงานของนักแปลในสำนักงาน
บทบาทของการแปล
การแปลเป็นทักษะที่พิเศษในการสื่อสาร
คือ ผู้รับสาร (receiver) ผู้แปลในฐานะที่เป็นตัวกลางในการส่งสารจึงมีบทบาทสำคัญมาก
ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบกับความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา ความรู้
อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และขนมธรรมเนียม เป็นต้น
คุณสมบัติของนักแปล
1.
ด้านความรู้
1.1 มีใจรักงานแปล
1.2 มีความสามารถในการอ่าน และรักการอ่าน
2.
ความรู้
2.1 มีความรู้ในภาษาทั้งสองภาษาอย่างดี
2.2 มีความรอบรู้อย่างกว้างขวาง
3.
ความสามารถ
3.1 สามารถตีความภาษาต้นฉบับได้อย่างดี
3.2 มีความสามารในการถ่ายทอดความรู้
4.
ประสบการณ์
4.1 ฝึกฝนการแปลอยู่เสมอ
4.2 มีความรู้ในงานหลายภาษา
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ลักษณะงานแปลที่ดี ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตรงตามต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้ประโยคสั้นๆ
แสดงความคิดเห็นได้แจ่มแจ้ง
ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม
และรักษาแบบหรือสไตล์การเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้
และมีการปรับแต่งถ้อยคำสำนวนให้เข้ากับสภาพสังคม เพื่อให้ผู้อ่านงานแปลเกิดความเข้าใจ
การให้ความหมายในการแปล
การให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1.
การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.
การตีความจากบริบทของข้อความต่างๆ
อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง (Context)
และความคิดรวบยอด (Concept) ไม่ใช่แปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน
(paraphrasing) แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ ความหมายจากความรอบข้างหรือบริบทของข้อความ (context)
ที่เป็นรูปนามธรรม
ผู้แปลจะต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดและสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์ความหมาย
สิ่งที่จะต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมาย คือ
1.
องค์ประกอบของความหมาย
เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องหมายในการสื่อความหมาย ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย
คือ
1.คำศัพท์
คือคำที่ตกลงยอมรับกันของผู้ใช้ภาษาซึ่งจะมีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมาย
ความหมายของคำแต่ละคำจะเปลี่ยนแปลงไปได้ในปริบทต่างๆ ตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
2. ไวยากรณ์
หมายถึงแบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
3. เสียง
ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย เช่น เสียงสระ เสียงพยัญชนะ
นำเสียงเหล่านี้มารวมกันเข้าอย่างมีระบบระเบียบ จะทำให้เกิดเป็นหน่วยที่มีความหมาย
เรียกว่า คำ หรือ คำศัพท์
2.
ความหมายและรูปแบบ
ความหมายและรูปแบบมีความสัมพันธ์กันดังนี้
1.ในแต่ละภาษา
ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ เช่น ในรูปประโยคที่ต่างกัน
หรือใช้คำที่ต่างกัน
2. รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริบทเป็นสำคัญ
3.
ประเภทของความหมาย
1.ความหมายอ้างอิง
(referential meaning) หรือความหมายโดยตรง (denotative
meaning) คือ
ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม-และนามธรรม
หรือความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล
(Connotative meaning) หมายถึงความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน
ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะเป็นความหมายในทางบวก
หรือทางลบก็ได้ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3. ความหมายตามปริบท
(Contextual meaning) รูปแบบหนึ่งๆ
ของภาษาอาจจะมีความหมายได้หลายความหมาย
ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด
จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา
(figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย
(simile) และการเปรียบโดยนัย (metaphor) โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบ
ออกเป็น 3 ส่วน คือ
4.1 สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ (topic)
4.2
สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration)
4.3
ประเด็นของการเปรียบเทียบ (point of similarity)
การเลือกบทแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล เช่น แนวคิดให้แปลงานเขียนประเภทต่างๆ
เพื่อให้ได้ซึ่งความหลากหลายของประเภทงานเขียน
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะเลือกมาแปลมีหลายสาขา
จะต้องเลือกว่าจะแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย
การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขาวิชานั้นๆ
ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกฝนภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น