.

.

วันพุธที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

Learning Log: สัปดาห์ที่ 4

Learning Log out classroom: สัปดาห์ที่ 4

Reading skill

การอ่านเป็นทักษะสำคัญในการเรียนภาษา การอ่านเป็นกระบวนการที่ต้องฝึกฝนอย่างมีระบบ เพราะการอ่านเป็นทักษะที่สามารถฝึกฝนได้ การฝึกมากทำให้มีความสามารถในการอ่านเพิ่มขึ้นตามระดับของการอ่าน การอ่านอย่างมีประสิทธิภาพหรือมีความสามารถในการอ่านได้ถูกต้อง การอ่านได้คล่อง รวดเร็ว เข้าใจเรื่องที่อ่าน สามารถจับใจความสำคัญ ตอบคำถามได้ อ่านแล้วสามารถตีความได้ สามารถวิเคราะห์หรือวิจารณ์ได้อย่างมีสมาธิ และอ่านแล้วรู้จักจดบันทึกและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้ (ฉวีวรรณ คูหาภินันท์, 2542: 16-17)
การอ่านจึงเป็นทักษะหนึ่งทางภาษาที่นำผู้อ่านไปสู่โลกกว้าง ช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้ มีข้อมูลข่าวสารและงานสร้างสรรค์ จนสามารถจัดพิมพ์ในหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์อื่น ๆ ได้ นอกจากนี้ข่าวสารสำคัญ ๆ หลักจากการนำเสนอด้วยการพูด หรือการอ่านให้ฟังผ่านสื่อต่าง ๆ แล้วส่วนใหญ่มีการจัดพิมพ์และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐานแก่ผู้อ่านในชั้นหลัง ๆ ความสามารถในการอ่านจึงสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเป็นพลเมืองที่มีคุณธรรมในสังคมปัจจุบัน
การฝึกทักษะการอ่านภาษาอังกฤษมีความสำคัญที่ช่วยให้สามารถนำข้อมูลที่ได้ปแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในการเรียนรู้ทักษะการอ่านแบบต่าง ๆ ได้แก่ การอ่านแบบ skimming reading และ scanning reading เมื่อรู้เทคนิคการอ่านแล้ว อาจเริ่มฝึกโดยการอ่านเรื่องที่สนใจ เพื่อทำการศึกษาและตีความหมายจากการอ่านได้อย่างเข้าใจ หากต้องการฝึกฝนทักษะการอ่านภาษาอังกฤษได้ง่าย ๆ โดยอาจเริ่มต้นจากการอ่านป้านโฆษณา หรือ billboard ต่าง ๆ ตามข้างถนนที่เราเห็นได้ทั่วไป ลองอ่านและทำความเข้าใจคำต่าง ๆ ในโฆษณานั้นว่าพยายามสื่อถึงอะไร จากการอ่านข้อความสั้น ๆ ก็เริ่มเป็นบทความที่ยาวขึ้น โดยอาจเริ่มจากระดับที่ไม่สูงมากนัก หรือหากชอบอ่านนิตยสาร ก็ลองหานิตยสารภาษาอังกฤษมาอ่าน หากชอบอ่านนวนิยายหรือการ์ตูน ขอแนะนำว่าควรเริ่มอ่านจากนวนิยายหรือวรรณกรรมเยาวชยสำหรับเด็กอายุ 7-9, 10-12, teenagers จนถึงระดับผู้ใหญ่ (adult fictions) ซึ่งวิธีการอ่านภาษาอังกฤษนั้นมีอยู่ 2 แบบ คือ   
1.การอ่านแบบสกิมมิ่ง (skimming) เป็นการอ่านแบบข้าม หรือบางสำนักเรียกว่า skipping เป็นวิธีการอ่านแบบหนึ่งที่แตกต่างจากการอ่านแบบธรรมดา เพราะการอ่านแบบนี้เป็นการอ่านผ่าน ๆ เพื่อต้องการข้อมูลทั่วไป (general information) จะไม่อ่านทุกตัวอักษรแต่จะอ่านข้อความเร็ว ๆ เป็นจุด ๆ เช่น อ่าน 2-3 คำแรก หรือ 2-3 ประโยคแรกแล้วข้ามไป อาจข้ามเป็นประโยคหรือเป็นบรรทัด หรืออ่านเฉพาะประโยคแรกแประโยคสุดท้ายของแต่ละย่อหน้า หรืออ่านเฉพาะคำหรือวลีที่สำคัญ ๆ การอ่านแบบนี้มีจุดมุ่งหมายหลัก 2 ประการคือ อ่านเพื่อเก็บประเด็นหรือใจความสำคัญ อ่านเพื่อเก็บรายละเอียดที่สำคัญบางอย่าง การอ่านแบบสกิมมิ่งมีประโยชน์ต่อผู้อ่านอย่างมาก เพราะต้องอ่านหนังสือมากมายหลายเล่ม หรือข้อมูลจำนวนมากในเลาอันจำกัด และไม่มีเวลาพอที่จะอ่านทุกเล่มอย่างละเอียดถี่ถ้วน ดังนั้นผู้อ่านต้องรู้วิธี skim เพื่อประหยัดเวลา
2.การอ่านแบบสแกนนิ่ง (scanning) เป็นการหาข้อมูลเฉพาะ เช่น ตัวเลข วันที่ สถานที่ ชื่อคน เป็นต้น จะเป็นข้อมูลที่ปรากฏให้ผู้อ่านเห็นได้อย่างชัดเจนในบทอ่าน โดยถ้าในคำถามถามหรือสถานที่ ก็ให้กวาดสายตาไล่ดูแต่คำที่หมายถึงหรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นสถานที่เฉพาะหรือเป็นชื่อเฉพาะ ดังนั้นต้องขึ้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่แน่นอน แต่ผู้อ่านต้องทราบหรือมีความรู้ด้านคำศัพท์พอสมควร เพราะคำที่ขึ้นต้นด้วยตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ทุกตัวนั้นอาจไม่ได้หมายถึงสถานที่เฉพาะทุกคำเสมอไป อาจหมายถึงชื่อคน ชื่อเมืองหรือชื่อถนน ซึ่งขึ้นอยู่กับความรู้รอบตัวของแต่ละตัวบุคคลด้วย การอ่านแบบ scanning มีประโยชน์มากในการอ่าน เพราะทำให้ได้ข้อมูลที่ต้องการภายในเวลาที่รวดเร็ว เช่น เมื่ออ่านเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อาจต้องการเพียงแค่ชื่อ วันที่ สถิติหรือข้อเท็จจริงบางอย่างเท่านั้น ซึ่งไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอ่านเรื่องทั้งหมด เพียงแต่กวาดสายตาอย่างรวดเร็วทีละ 2-3 บรรทัดเพื่อหาสิ่งที่ต้องการ แต่ที่สำคัญคือจะต้องรู้อยู่ตลอดเวลาว่ากำลังหาอะไร ซึ่งจะต้องกำหหนดสิ่งนั้นอย่างชัดเจน เพื่อเวลาอ่านจะมองหาสิ่งที่ต้องการปรากฏออกมาได้อย่างเด่นชัด
การอ่านมีความสำคัญอย่างมากในสังคมโลกปัจจุบันและยุคอนาคต เพราะจะทำให้ผู้อ่านเกิดความคิด อีกทั้งทำให้สามารถคิดใคร่ครวญได้ดีกว่าการฟัง สามารถพัฒนาผู้อ่านให้เป็นคนชอบเรียนรู้ ชอบที่จะพัฒนาตนเอง ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทักษะอื่น ๆ อีกมากมาย นอกจากนี้ยังสร้างความเพลิดเพลินและบันเทิงต่อผู้อ่าน เป็นแรงบันดาลใจที่จะทำสิ่งต่าง ๆ คุณประโยชน์ของการอ่านจึงเป็นหน้าต่างให้เราได้พบโลกที่กว้างขึ้น เราสามารถรับรู้วัฒนธรรม ประเพณี ความเป็นอยู่ เรื่องราวของประเทศต่าง ๆ ได้ด้วยการอ่าน ซึ่งเรื่องที่อ่านควรเป็นเรื่องที่เราอ่านแล้วเข้าใจอย่างน้อย 70% เพื่อไม่ให้เรารู้สึกเบื่อหน่ายกับการอ่านในสิ่งที่เราไม่เข้าใจมากเกินไป และเป็นการทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อีก 30% หลังจากนั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

.

.