Learning Log in classroom:
สัปดาห์ที่ 5
คุณธรรมกับการศึกษา
“คุณธรรม”
หลายคนคงคิดว่าเข้าใจความหมายของคำ ๆ นี้ แต่จะมีสักกี่คนที่รู้และเข้าใจว่า
“คุณธรรม” เกี่ยวข้องอย่างไรกับการศึกษาและชีวิตประจำวัน บางคนอาจคิดว่า “คุณธรรม”
คือสิ่งที่มองไม่เห็นหรือมีแต่ในอุดมคติของบุคคลเท่านั้น บางคนอาจคิดว่า “คุณธรรม”
เป็นเรื่องที่น่าเบื่อ โบราณ และไม่น่าสนใจ แต่หากเราลองคิดกลับกัน “คุณธรรม”
ก็เหมือนนามธรรม ถ้าให้เห็นภาพก็ต้องแสดงหรือปรากฏออกมาในรูปของการกระทำ
การพูดการจาของมนุษย์เราในปัจจุบัน ข่าวสารบ้านเมืองหรือละครและภาพยนตร์
ก็ยิ่งสะท้อนและแสดงให้เห็นว่าเยาวชนไทยและผู้ใหญ่ในสมัยนี้โดยส่วนมากมีคุณธรรม
และจริยธรรมที่เสื่อมถอยลง บ้างก็คิดผิด พูดผิด หรือทำผิด
มีค่านิยมที่ไม่ค่อยได้ใช้สติและปัญญาในการดำรงชีวิต
มีการกระทำที่ผิดทำนองคลองธรรม มีการทุจริตฉ้อโกง มีค่านิยมที่ผิด ๆ
ติดการเสพหรือบริโภคที่เกินพอดี
และนำมาซึ่งปัญหานานัปการที่เกิดขึ้นในสังคมในสังคมและชีวิตของเราทุกคน เช่น
เกิดการปล้นราชิงทรัพย์ในทุกพื้นที่
เกิดความรุนแรงอันเป็นสาเหตุของการทำร้ายซึ่งกันและกันของคนในสังคม
อีกทั้งยังมีการทุจริตคอรัปชั่นตั้งแต่หน่วยที่เล็กที่สุดจนถึงระดับการเมืองงหรือระดับประเทศ
และสิ่งที่น่ากลัวและร้ายแรงอันเป็นเหตุจากการขาดคุณธรรมก็คือ การก่ออาชญากรรม
สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นผลแห่งความเสื่อมของคุณธรรมและจริยธรรมของคนในสังคม
หากเราลองมองถึงมูลเหตุแห่งความไม่เจริญขึ้นของคุณธรรมในเยาวชนและคนในสังคมแล้ว
เราอาจพบว่าสิ่งที่เกิดขึ้นอาจเกิดมาจากความไม่เพียงพอของการศึกษา
ขาดการอบรมคุณธรรมของเยาวชนี่จะทำให้เขามีความคิด การพูด
และการกระทำที่เป็นลักษณะของคุณธรรมอันพึงประสงค์ได้ รวมถึงความสัมพันธ์และการเห็นความสำคัญระหว่างคุณธรรมกับการศึกษาในแง่มุมของการบูรณาการที่ทำให้เกิดขึ้นจริงในชีวิตประจำวัน
สิ่งใดควรทำในระดับใด ในระยะเวลาใด เพื่อให้เยาวชนมีภูมิต้านทานต่อ
“เชื้อโรคทางใจ” ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ทั่วไปในกลุ่มเยาวชนไทย
การศึกษาในยุคปัจจุบันจะให้น้ำหนักหรือความสำคัญในการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม
และศีลธรรมในเยาวชนน้อยกว่าการให้ความรู้ในด้านวิชาการ บางคนอาจพูดว่า
“เก่งต้องมาก่อนดี” หรือบางคนอาจพูดว่า “ดีต้องมาก่อนเก่ง”
ไม่สำคัญว่าอะไรจะมาก่อนหรือหลัง
อยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรหรือจะพัฒนาเยาวชนอย่างไรเพื่อให้เขาได้เป็นทั้งคนดีและคนเก่ง
เพราะนั่นคือสิ่งที่สังคมของเราต้องการมากที่สุด
เพราะในสังคมหรือในชีวิตประจำวันเราไม่ค่อยพบคนที่ทั้งดีและเก่ง
ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น? สาเหตุดังกล่าวอาจมาจากครอบครัว ชุมชน และโรงเรียน
ซึ่งอาจมีวิธีการ กระบวนการเรียนการสอน การอบรมหรือการหล่อหลอมที่ผิด ๆ หรือมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดีและคนเก่งได้
1.ครอบครัว
เป็นการรวมตัวของบุคคลที่มีความรัก ความผูกพันกัน มีปฏิสัมพันธ์ต่อกัน
ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ครอบครัวเป็นสถาบันสังคมที่เล็กที่สุด
แต่เป็นสถาบันที่มีความสำคัญมากที่สุด เพราะเป็นหน่วยสังคมแรที่หล่อหลอมชีวิตของคนในครอบครัว
ให้การเลี้ยงดูอบรมสั่งสอน ครอบครัวจึงเป็นแหล่งผลิตคนเข้าสู่สังคม
สังคมจะดีมากน้อยเพียงใดนั้นจึงขึ้นอยู่กับสถาบันครอบครัวเป็นสำคัญ
เพราะครอบครัวเป็นสถาบันแรกที่ให้การอบรมสั่งสอน หล่อหลอมพฤติกรรม การกระทำ
ความคิด ความรู้สึก จึงอาจเรียกได้ว่า
สถาบันครอบครัวช่วยหล่อหลอมบุคลิกภาพของมนุษย์
สร้างและพัฒนาคุณภาพของมนุษย์ในสังคม สังคมไทยในอดีต
สภาพความเป็นอยู่ของครอบครัวจะมีความใกล้ชิดสนิทสนม มีความผูกพัน
มีสัมพันธภาพแน่นแฟ้น มีความเคารพนับถือ ให้ความช่วยเหลือ ดูแลกันอย่างทั่วถึง มีการติดต่อไปมาหาสู่หมู่ญาติพี่น้องสม่ำเสมอ
ครอบครัวส่วนใหญ่เป็นครอบครัวขยาย (Extended
Family) แต่ปัจจุบันความเปลี่ยนแปลงในสังคมส่งผลให้สภาพครอบครัวไทยในอดีตเปลี่ยนแปลงไปเช่นเดียวกัน
กล่าวคือ ครอบครัวปัจจุบันส่วนใหญ่จะเป็นครอบครัวเดี่ยว (Nuclear
Family) มีเฉพาะสามี ภรรยาและบุตร
พ่อแม่ไม่ค่อยมีความใกล้ชิดกับลูกมากนัก เพราะจะต้องออกไปทำงานนอกบ้าน
หารายได้เพื่อมาจุนเจือครอบครัว บางครั้งอาจต้องหาคนอื่นเลี้ยงดูลูก หรือฝากเข้าโรงเรียนก่อนวัยเรียน
การไปมาหาสู่กับญาติพี่น้องจึงน้อยลง ความผูกพันเอาใจใส่ซึ่งกันและกันภายในครอครัวลดลง
ทำให้สิ่งแวดล้อมภายนอกหรือกลุ่มเพื่อนเข้ามามีบทบาทสำคัญมากกว่าครอบครัว
หากได้เข้าไปในกลุ่มเพื่อนที่ไม่ดีหรือเลวร้าย ปัญหาอื่น ๆ ก็จะตามมา เช่น
ติดการพนัน ติดยาเสพติด เป็นต้น สภาพที่เกิดขึ้นเช่นนี้สะท้อนให้เห็นถึง
“ความล้มเหลวของสถาบันครอบครัว”
อันเป็นสาเหตุสำคัญประการหนึ่งของความแตกแยกของพ่อแม่ในการครองชีวิตคู่
ความไม่สนใจหรือไม่ใส่ใจดูแลลูก ส่งผลให้เด็กรู้สึกขาดความมั่นคง
ขาดความรักความอบอุ่นและรูปแบบที่เหมาะสมที่จะยึดเป็นแนวปฏิบัติหรือแนวทางได้
ทำให้เด็กีโอกาสง่ายต่อการเดิน “หลงทางชีวิต” ดังนั้นครอบครัวจึงเป็นสถาบันสังคมที่สำคัญมากที่สุดในการสร้างรากฐานอนาคตให้กับมวลสมาชิก
ซึ่งสมาชิกของครอบครัวเหล่านั้นจะมาเป็นสมาชิกของสังคมต่อไป
2.ชุมชนหรือสังคม
อาจเปรียบได้กับสภาพแวดล้อมโดยรอบของเด็ก หากสภาพแวดล้อมรอบตัวเด็กดี
เด็กก็จะเติบโตและเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาชุมชน สังคม
และประเทศชาติของตนให้เจริญก้าวหน้าได้โดยง่าย
แต่ถ้าหากเด็กอยู่ในชุมชนหรือสภาพแวดล้อมรอบตัวที่มีแต่ปัญหา เด็กก็จะกลายเป็นเด็กมีปัญหาต่อไปในอนาคตเช่นกัน
สภาพสังคมในปัจจุบัน เราล้วนพบปัญหาต่าง ๆ มากมาย อันได้แก่ ปัญหายาเสพติด
ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทุจริต และปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคม
สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุในการปิดกั้นการพัฒนาเด็กให้มีคุณภาพและคุณธรรม ในชุมชนหรือในสังคมหนึ่ง
ๆ หากมีบุคคลที่ไม่ดีและไม่สมควรเอาเยี่ยงอย่าง
เมื่อเด็กได้เห็นพฤติกรรมหรือการกระทำเหล่านั้น หากไม่ได้มีการตักเตือน แนะนำ
หรือห้ามปราม
เด็กก็จะเกิดการเลียนแบบและเอาเยี่ยงอย่างพฤติกรรมเหล่านั้นไปจนโตเป็นผู้ใหญ่
จริงอยู่ว่า “ตัวอย่างที่ดีย่อมดีกว่าทฤษฎีหรือหลักคำสอน”
การมีตัวอย่างที่ดีของบุคคลในชุมชนและสังคมย่อมเป็นแบบอย่างให้กับเด็กและเยาวชนในการปฏิบัติ
เพื่อเป็นบุคคลหนึ่งในสังคมที่พร้อมจะพัฒนาชุมชน สังคม
และประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรือง หากมีตัวอย่างที่ไม่ดีในสังคมแล้ว
เราก็ต้องหาทางแก้ไขปัญหาโดยการมองที่มูลเหตุแห่งพฤติกรรมเหล่านั้น
เพื่อการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ดังนั้นการมีตัวอย่างของบุคคลที่ดีในสังคม และชุมชน
ย่อมทำให้เด็กเกิดการเลียนแบบและปฏิบัติเป็นเยี่ยงอย่าง
เพื่อเติบโตเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและคุณธรรมของสังคมต่อไป
3.โรงเรียนหรือการศึกษา
การศึกษาในยุคปัจจุบันมีการแยกส่วนของวิชาคุณธรรม เช่น ศาสนา
หน้าที่พลเมืองและศีลธรรมออกมาจากวิชาการทั่วไป
หรือเป็นวิชาเฉพาะที่สอนแยกออกมาเฉพาะเวลา
มีครูเฉพาะทางซึ่งไม่เข้ากับชีวิตประจำวัน เด็กก็จะเบื่อในการท่องชื่อ ศีลธรรมเพื่อนำไปสอบ
และนำกลับไปบูรณาการเข้าในชีวิตประจำวันไม่ค่อยได้หรือไม่ประสบผลเท่าที่ควร
ต่างจากการศึกษาของประเทศไทยในอดีต เมื่อครั้งที่ “วัด”
ยังเป็นศูนย์กลางทางการศึกษา พระสงฆ์องค์เจ้าเป็นผู้ที่มีทั้งความรู้และคุณธรรม
(เก่งและดี) ทำหน้าที่เป็นครูอาจารย์ อบรมสั่งสอนเยาวชนไทยในทุกด้าน ทั้งวิชาการ
ศาสตร์แขนงต่าง ๆ และคุณธรรม
ปัญหาในการบูรณาการระหว่างคุณธรรมและวิชาการกับชีวิตประจำวันจึงไม่มี
สังคมโดยรวมก็มีปัญหาน้อย มีความสงบร่มเย็น ต่างจากปัจจุบันที่วัด โรงเรียน
ครอบครัวแยกส่วนออกจากกันอย่างชัดเจน จนไม่ประสานกันและเกิดปัญหาในท้ายที่สุด
ดังนั้น ครูผู้สอนในโรงเรียนหรือระบบการศึกษาปัจจุบัน
จำเป็นที่จะต้องมีทั้งความรู้และคุณธรรมในการสอนเด็กและเยาวชน
ขณะที่สอนหากสามารถเชื่อมโยงกับเหตุการณ์ในสังคมที่กำลังเกิดขึ้นได้
พร้อมทั้งอธิบาย ยกตัวอย่างปัญหาและสาเหตุ ตลอดจนวิธีแก้ปัญหา
ก็จะทำให้ผู้เรียนไม่รู้สึกเบื่อ แต่กลับเพลิดเพลินไปกับการสอนของครูมากขึ้น
นแกจากนี้ผู้เรียนยังสามารถนำไปบูรณาการกับชีวิตประจำวันได้อีกด้วย
จะเห็นได้ว่า
ครอบครัว
ชุมชนหรือสังคมและโรงเรียนต่างมีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาเด็กและเยาวชนไทยให้เป็นคนดีที่มีคุณธรรม
จริยธรรม เป็นคนเก่งที่มีความรู้ ความสามารถ
แต่การสอนหรือการบอกคงไม่สำคัญเท่ากับการมีตัวอย่างหรือแบบอย่างที่ดี
เพื่อให้เด็กและเยาวชนไทยได้เห็นเป็นตัวอย่าง
แล้วนำไปเป็นแบบอย่าในการพัฒนาและเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพและคุณธรรมในสังคมไทย
เพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้าและรุ่งเรืองสืบไป
ดังนั้น เมื่อสังคมดี ชีวิตก็จะมีแต่ความสุข ไม่เกิดปัญหาและความเสื่อมในด้านต่าง
ๆ ในสังคม หากเราทุกคนเห็นความสำคัญต่อการพัฒนาดังกล่าว ทุก ๆ
ปัญหาไม่ว่าจะเป็นปัญหายาเสพติด ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการทุจริตและปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและสังคมก็จะไม่เกิดขึ้นอย่างแน่นอน
ฉะนั้นแล้ว นอกจากจะให้ความสำคัญในการพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนเก่งแล้ว
จำเป็นที่จะต้องพัฒนาเด็กและเยาวชนให้เป็นคนดีด้วย
และสามารถบูรณาการทั้งสองอย่างให้เกิดขึ้นได้จริงในชีวิตประจำวันและสังคมต่อไป
Learning Log in classroom:
สัปดาห์ที่ 5
Adjective
Clause
Adjective Clause แปลว่า
“คุณานุประโยค” หมายความว่า “ประโยคนั้นทั้งประโยคไปทำหน้าที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม
หรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกันกับ Adjective ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clause จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดกว่าการขายายด้วย Adjective
ธรรมดา”
ประโยค Adjective
Clause จะนำหน้าด้วย “Relative
Words” (คำเชื่อมสัมพันธ์) ซึ่งอาจเป็น relative pronoun หรือ relative adverb หรือ relative อื่น
Relative Pronoun
|
Relative Adverb
|
Relative อื่น
|
who, whom, whose
|
when
|
before
|
which, of which
|
where
|
after
|
that
|
why
|
what
|
(that
same)
as
|
|
whatever
|
(such)
as
|
|
whichever
|
but (=who…not)
|
|
whoever
|
คำ relative ทำหน้าที่ 2 อย่างคือ
ใช้แทนคำนามข้างหน้าและพร้อมกันนั้นก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยงด้วย เช่น
He looked at the girl who was
singing.
เขาได้มองไปยังหญิงสาวที่กำลังร้องเพลงอยู่
who
เป็น relative
pronoun ทำหน้าที่แทน the girl และเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกันคือ He looked
at the girl. กับ The girl was singing.
เมื่อเชื่อมรวมเข้าด้วยกันแล้ว
ประโยคย่อยหลังคำ relative (รวมทั้งคำ relative) เรียกว่า adjective clause
คำนามที่คำ relative
แทน เรียกว่า antecedent หรือ referent (คำที่ถูกอ้างอิง)
หมายเหตุ เนื่องจาก adjective clause เป็น clause ซึ่งทำหน้าที่ด้วยคำ relative จึงมีผู้นิยมเรียก Adjective Clause อีกอย่างหนึ่งว่า Relative Clause
การใช้คำ Relative
Which
ใช้แทนคำนามข้างหน้าที่ทำหน้าที่เป็นสัตว์หรือสิ่งของ
โดยทำหน้าที่เป็นประธานหรือกรรมใน adjective clause
เช่น
The pencil which is in your pocket
belongs to me.
ดินสอซึ่งอยู่ในกระเป๋าคุณนั้นเป็นของผม
Who
ใช้แทนบุคคลที่เป็นประธานของกริยาในประโยค
adjective clause เช่น
The
woman who understand me best is my mother.
ผู้หญิงที่เข้าใจผมดีที่สุดก็คือแม่ของผมเอง
Whom
ใช้แทนบุคคลที่เป็นกรรมของกริยาในประโยค
adjective clause เช่น
The
boy whom you punished was quite innocent of doing wrong.
เด็กชายที่คุณได้ทำโทษไปนั้น
ไม่ได้ทำอะไรผิดเลย
Whose
ใช้แสดงความเป็นเจ้าของสำหรับคนเท่านั้น
เมื่อพูดหรือเขียนจะวางระหว่างคำนามที่อยู่ข้างหน้าและคำนามที่อยู่ข้างหลังเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของในประโยค
adjective clause เช่น
The
men whose wife died last month is going to marry Jane.
ชายคนที่ภรรยาของเขาได้เสียชีวิตไปเมื่อเดือนที่แล้วกำลังจะแต่งงานกับเจน
Of
which ใช้แสดงความเป็นเจ้าของของสัตว์และสิ่งของเท่านั้น
เมื่อพูดหรือเขียนจะวางไว้หน้าหรือหลังคำนามในประโยค adjective clause เช่น
The
tree of which the leaves are yellow is dying.
หรือ The
tree the leaves of which are yellow is dying.
ต้นไม้ซึ่งใบของมันเป็นสีเหลืองกำลังเหี่ยวแห้ง
That
เป็น Relative Pronoun ที่ใช้ได้กับคน สัตว์และสิ่งของ
จะนำมาใช้ขึ้นต้นประโยค Adjective Clause ได้ก็ต่อเมื่อหน้าคำนามที่เป็น
Antecedent นั้นมีลักษณะต่อไปนี้
1.มีคุณศัพท์ขั้นสูงสุด (Superlative
Degree) ประกอบอยู่ข้างหน้า เช่น
It is the highest
mountain that he has ever climbed.
มันเป็นภูเขาที่สูงที่สุดที่เขาได้เคยไต่
2.มีเลขลำดับที่ (Original
Number) ประกอบอยู่ข้างหน้า (ถ้าเป็นบุคคล อเมริกันใช้ who เสมอ)เช่น
He
is the first student who (that)
has ever done this exercise correctly.
เขาเป็นนักเรียนคนแรที่ได้เคยทำแบบฝึกหัดนี้ได้ถูกต้อง
3.เมื่อหน้า that นั้นเป็นสรรพนาม หรือคำต่อไปนี้
some any every no all very
someone anyone everyone no one little
somebody anybody everybody nobody none
something anything everything nothing only
somewhere anywhere everywhere nowhere much
เช่น
There is nothing that I
can do for you.
ไม่มีอะไรที่ผมสามารถทำเพื่อคุณ
4.ใช้ that ในกรณีที่มี noun 2 คำในประโยค
ซึ่งตามกฎแล้วคำหนึ่งต้องใช้ who อีกคำหนึ่งต้องใช้
which ให้ใช้ that แทนเพียงคำเดียว เช่น
The book was about the men and the animals
that the author had met on his travels.
หนังสือเล่มนั้นได้กล่าวถึงผู้คนและสัตว์ทั้งหลายซึ่งผู้แต่งได้พบในการเดินทางของเขา
As
จะใช้เป็น Relative Pronoun ขึ้นต้นประโยค Adjective Clause ได้ก็ต่อเมื่อคำนามซึ่งเป็น antecedent
ที่ as ไปประกอบ มี The same หรือ
such วางอยู่ข้างหน้าเท่านั้น เช่น
The
same man as came yesterday has come again.
= The man who came yesterday has
come again.
ชายคนที่มาเมื่อวานนี้มาอีกแล้ว
Such
people as you see here are unique.
= The people whom you see here
are unique.
ผู้คนทั้งหลายที่คุณเห็นอยู่ที่นี่เป็นพวกที่เหมือนใคร
But
เมื่อนำมาใช้เป็น Relative
Pronoun ในประโยค Adjective Clause จะมีความหมายว่า “ซึ่งไม่” (=
which…not หรือ who…not)
เช่น
There
is no man here but wish to be a good person of the nation.
ไม่มีชายใดในที่นี้ซึ่งไม่ประสงค์จะเป็นคนดีของชาติ
When
ใช้แทนคำนามที่บอกเวลาซึ่งทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน
adjective clause เช่น
Sunday
is the day when I have no work to do.
วันอาทิตย์คือวันที่ผมไม่มีงานอะไรทำ
Where
ใช้แทนคำนามที่บอกสถานที่
หน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause เช่น
This
is the house where I live.
นี่คือบ้านที่ผมอาศัยอยู่
Why
ใช้แทนคำนามที่บอกสาเหตุหรือเหตุผล
ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ใน adjective clause เช่น
The
reason why she wept is well-know.
เหตุผลที่หล่อนต้องร้องไห้นั้นเป็นที่รู้กันดี
Adjective
Clause ซึ่งคำ Relative
ไม่มี Antecedent
What
เช่น
Tell
me what you want.
= Tell me the thing that you
want.
บอกสิ่งที่คุณต้องการกับฉัน
Whoever เช่น
Give
this money to whoever is poor.
ให้เงินจำนวนนี้แก่ใครก็ได้ที่ยากจน
Whichever
เช่น
She
may take whichever she likes.
หล่อนอาจจะเอาอันไหนก็ได้ที่หล่อนชอบ
Wherever
เช่น
She
will go wherever I go.
หล่อนจะไปที่ไหนก็ได้ที่ฉันไป
Learning Log out classroom:
สัปดาห์ที่ 5
การฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษผ่านการดูหนัง
Sutasinee Lertwatcha
การฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษผ่านการดูหนังหรือภาพยนตร์
นับว่าเป็นเทคนิคหนึ่งที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะนอกจากการประหยัดเงินไม่ต้องไปเสียค่าเรียนที่มีราคาสูงตามสถาบันการสอนภาษาแล้ว
ผู้เรียนยังได้ฝึกภาษาได้อย่างเพลิดเพลินผ่านเรื่องราวที่สนุกสนานในหนังหรือภาพยนตร์อีกด้วย
นับว่าเป็นสิ่งที่ดีหากเราจะลองฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษของเราผ่านการดูหนัง
แต่จะฝึกฝนทั้งทีนั้นจำเป็นที่จะต้องมีวินัยกับตัวเอง
เพื่อการฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษที่มีคุณภาพและมีประสิทธิผลสูงสุด
เขียนจึงขอยกเคล็ดลับสำหรับผู้ที่กำลังเริ่มต้นฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษ
ซึ่งมีดังนี้
1.อย่าดูหนังรวดเดียวจบ
ในการดูหนังเพื่อฝึกภาษานั้นไม่ควรดูรวดเดียวจนจบเรื่องโดยไม่ได้พักเลย
ควรปล่อยให้สมองได้มีช่วงเวลาพักบ้าง เพราะเมื่อเวลาดูหนังเพื่อการฝึกภาษานั้น
เราต้องใช้สมาธิและคิดตามมากว่าการดูหนังแบบกติ ซึ่งถ้าหากเรายังฝืนดูต่อไปเรื่อย
ๆ จะทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนรู้ลดลงโดยใช่เหตุ ในกรณีที่เพิ่งเริ่มต้นฝึกภาษาและยังไม่ค่อยเชี่ยวชาญทักษะการฟังมากนัก
ก็ควรเลือกหนังที่เคยดูมาแล้วรอบหนึ่งหรือสองรอบจะเป็นการดีกว่า
เพราะเราจะได้โฟกัสหรือเน้นการฝึกภาษาได้อย่างเต็มที่
เพราะไม่ต้องห่วงเนื้อเรื่องมากนัก นอกจากนี้ก็ควรค่อย ๆ ไต่หรือเพิ่มระดับ
โดยอาจเริ่มจากดูหนังที่เข้าใจง่ายหรือใช้ภาษาไม่ซับซ้อน
แล้วจึงทยอยเพิ่มระดับความยากให้มากขึ้นตามความชำนาญ
2.ปิดซับไตเติ้ลภาษาไทย
การดูหนังพร้อมกับซับไตเติ้ลภาษาไทยนั้น
จะทำให้เราสับสนกับคำศัพท์บางคำมากยิ่งขึ้น
เพราะด้วยบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน และบางครั้งซับไตเติ้ลภาษาไทยเองก็อาจแปลไม่ตรงกับภาษาอังกฤษจึงอาจทำให้สับสนได้เช่นกัน
อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญและพบบ่อยมากที่สุดก็คือ
เมื่อเปิดซับไตเติ้ลแล้วคนสวนใหญ่ก็จะตั้งใจอ่านเฉพาะซับไตเติ้ลโดยอัตโนมัติ
ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการฟังลดน้อยลง และเกิดความรู้สึกเบื่อได้มากขึ้นด้วย
สำหรับมือใหม่หัดฟังที่ดูแบบไม่มีซับไตเติ้ลแล้วรู้สึกไม่เข้าใจ
ก็สามารถเปิดซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษเป็นตัวช่วยได้บ้าง
แน่นั่นก็อาจทำให้เราฝึกทักษะการอ่านมากกว่าฝึกทักษะการฟัง
3.ดูเรื่องหนึ่งลาย ๆ ครั้ง
ในการเรียนรู้ภาษาอังกฤษจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้เรียนที่จะต้องฝึกทักษะซ้ำหลาย
ๆ ครั้ง เพราะการทำซ้ำหลาย ๆ ครั้งนั้น
นอกจากจะเป็นสิ่งที่สมองคนเราโปดปรานมากแล้ว ยังเป็นการตอกย้ำซ้ำเติมเข้าไปอีกด้วย
ยิ่งตอกย้ำซ้ำเติมเข้าไปเท่าไร เราก็จะยิ่งจดจำได้ดียิ่งขึ้นเท่านั้น
หากเราเลือกหนังที่มีบทสนทนาเป็นธรรมชาติ เราก็จะสามารถจดจำและนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันได้ไม่น้อย
และควรเลือกหนังที่ตรงกับความสนใจของเรา
เพราะจะช่วยให้เรามีแรงจูงใจในการฝึกมากขึ้น
4.ไม่จำเป็นต้องพยายามเข้าใจทุกคำหรือทุกประโยค
หากเราต้องการฟังให้เข้าใจทุกคำหรือทุกประโยคแบบละเอียด
แน่นอนว่าเราจะไม่สามารถดูหนังเรื่องนั้นจบ
เพราะบางครั้งแม้แต่เจ้าของภาษาก็ไม่ได้เข้าใจหมดทุกคำแบบละเอียดขนาดนั้น
เพียงแค่พอจับใจความให้รู้ว่าใคร ทำอะไร ไหน อย่างไรนั่นก็น่าจะเพียงพอแล้ว
นอกจากนี้อาจลองฝึกพูดตามสิ่งที่ได้ยินไปด้วย ก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฟังและยังได้ฝึกออกเสียงให้ใกล้เคียงกับเจ้าของภาษาอีกด้วย
โดยในขณะที่พูดตามนั้น เราไม่จำเป็นต้องพยายามแปลความหมายของศัพท์หดทุกคำ
หมั่นลองฝึกเดาคำศัพท์จากบริบทดูบ้าง เมื่อเจอคำศัพท์ที่น่าสนใจจึงค่อยจดเก็บไว้
แล้วนำมาหาความหมายในภายหลัง
5.ฟังอย่างตั้งใจ จิตใจไม่วอกแวก
ยุคสมัยนี้เรามักชอบทำอะไรหลาย
ๆ อย่างในเวลาเดียวกัน เช่น นั่งทำงานไปก็เช็คสมาร์ทโฟนไป
เล่นเฟสบุ๊คก็เล่นไลน์ไปด้วย แต่ในชั่วโมงของการฝึกภาษานั้น
เราควรวางสมาร์โฟนไว้ให้ห่างจากมือและตั้งใจหรือจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้านั่นคือการดูหนังให้เต็มที่
โดยในแต่ละวันอาจใช้เวลาพียง 1-2 ชั่วโมงในการฝึกทักษะการฟังภาอังกฤษ
แต่เราก็ต้องฝึกอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมออย่าให้ขาดหรือละเลย
ในช่วงแรกเราอาจจะรู้สึกว่าฟังไม่ทันบ้าง แต่ก็อย่าเพิ่งท้อใจ
พยายามบอกกับตัวเองว่าเราต้องทำได้ เราต้องเก่งขึ้น ภาษาอังกฤษก็จะไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของเรา
ขอให้ตั้งใจและอดทน สักวันหนึ่งก็ต้องประสบควาสำเร็จอย่างแน่นอน
ดังจะเห็นได้ว่า
หากเรามีวินัยในการฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษ อีกทั้งยังมีวิธีหรือเคล็ดลับดี ๆ
ในการฝึกฝนทักษะการฟังภาษาอังกฤษแล้ว เราย่อมสามารถฟังภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจและลึกซึ้ง
มีความหมายเช่นเดียวกับที่ผู้ส่งสารต้องารสื่อ เพียงแค่เรามีความตั้งใจและอดทน
เราก็จะสามารถฟังภาษาอังกฤษได้อย่างเข้าใจ
นอกจากนี้ยังสามารถพูดหรือหรือสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น