Learning Log in classroom:
สัปดาห์ที่ 7
คุณลักษณะขอครูที่ดีในยุคโลกาภิวัตน์
ปัจจุบันเป็นยุคโลกาภิวัตน์หรือยุคโลกไร้พรมแดน
เป็นยุคของข้อมูลข่าวสารที่มนุษย์สามารถติดต่อถึงกันได้อย่างรวดเร็วและทั่วถึง
ครูจำเป็นที่จะต้องศึกษาหาความรู้จากแหล่งอื่น ๆ เพิ่มเติมอยู่เสมอ เช่น
ในอินเทอร์เน็ต
ซึ่งถือว่าเป็นห้องสมุดอีกแหล่งหนึ่งที่สามารถค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารได้แทบไม่หวั่นไม่ไหว
ทั้งนี้เพื่อให้ครูมีความรู้ในสถานการณ์ต่าง ๆ
ซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบัน
เพราะครูเป็นบุคคลที่สำคัญบุคคลแรกที่จะช่วยสร้างคน สร้างชาติ
ยิ่งสังคมยุคใหม่ที่พ่อแม่ต้องดิ้นรนทำมาหากิน ส่งผลให้เวลาดูแลลูก ๆ น้อยลงไปด้วย
ครูจึงต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า
นอกจากจะสอนหนังสือแล้วครูต้องเป็นพ่อแม่คนที่
2 ซึ่งคอยอบรมสั่งสอน
ประคับประคองให้เด็กเติบโตและสามารถเป็นกำลังสำคัญของประเทศในวันข้างหน้า
ซึ่งครูจะต้องมีความรู้ คุณธรรม และจริยธรรมที่ดีงาม
มีเทคนิคหรือวิธีการสอนที่ถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้น หากพิจารณาถึง
“คุณลักษณะที่สำคัญ ๆ ของครูที่ดีในยุคโลกาภิวัตน์” อาจพิจารณาจากหัวข้อต่อไปนี้
1.รู้ดี คุณลักษณะประการแรกของบุคคลที่เป็นครูทุกคน คือ
ต้องมีความรู้ดี การมีความรู้ดได้แก่ ความรู้ในเนื้อหาที่จะสอน
ความรู้ในจิตวิทยาการเรียนการสอน ความรู้ในหลักกการสอน
และความรู้เรื่องข่าวสารบ้านเมือง
ครูผู้สอนจึงมีความชัดเจนในด้านเนื้อหาหรือเรื่องที่จะสอนในศาสตร์ของตน เช่น
หากเป็นครูภาษาอังกฤษจะต้องมีความเชี่ยวชาญด้านคำศัพท์ ไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
หรือสามารถสื่อสารเป็นภาษาอังกฤษได้
ซึ่งการที่ครูมีความรู้ด้านจิตวิทยาการเรียนการสอนนั้น จะทำให้ครูเข้าใจธรรมชาติและสาเหตุของพฤติกรรมของผู้เรียนได้มากขึ้น
และสามารถแก้ปัญหาหรือสร้างแรงจูงใจและแรงเสริมให้ผู้เรียนได้ ยิ่งผู้สอนมีหลักการสอนที่ดี
ผู้เรียนก็ย่อมสามารถบรรลุผลหรือเกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ได้ดีเช่นกัน
นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนหรือมีเคล็ดลับกลวิธีการสอนแล้ว
ครูจำเป็นที่จะต้องบูรณาการเรื่องที่สอนกับเหตุกการณ์บ้านเมืองหรือสังคมที่เกิดขึ้นได้
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติให้เกิดผลในชีวิตประจำวันหรือสถานการณ์ที่จำเป็นได้
2.สอนดี
ความสามารถในการสอนจะบังเกิดหรือมีขึ้นได้จำเป็นที่จะต้องอาศัยองค์ประกอบหลาย ๆ
อย่างที่สำคัญ เช่น รู้หลักการสอน
รู้จักสภาพแวดล้อมทางบ้านของเด็กและมีบุคลิกภาพที่เหมาะสม สำหรับการสอนดีมีลักษณะอย่างไรนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้รับ
คือ นักเรียน กล่าวคือนักเรียนบางกลุ่มหรือบางคนชอบครูที่พูดสนุก
โดยไม่คำนึงถึงสาระที่จะได้รับ
ตรงกันข้ามนักเรียนบางกลุ่มบางคนอาจจะชอบครูที่เอาจริงเอาจังกับการสอน
หรือบางคนชอบครูที่สอนสนุกแต่ได้สาระ แต่การสอนที่ดีนั้นจะต้องสะท้อนถึงสิ่งที่สอนได้อย่างชัดเจน
ซึ่งครูจะต้องมีความชัดเจนในการชี้แจงหรือการอธิบายเนื้อหาให้ครอบคลุมและกระชับ
สอนแล้วนักเรียนอยากปฏิบัติตาม
ซึ่งครูจะต้องสร้างแรงจูงใจหรือเสริมแรงให้ผู้เรียนปฏิบัติหรือแสดงพฤติกรรมออกมา
สอนแล้วนักเรียนเกิดความกล้าที่จะกระทำ
เนื่องจากสิ่งที่ครูสอนเป็นสิ่งที่ดีและเกิดประโยชน์ก่อให้เกิดคุณค่าขึ้นในจิตใจของผู้เรียน
อีกทั้งนักเรียนมีความร่าเริงกับการได้เรียน
ซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการจดจำและเรียนรู้ได้ดี
3.มีวิสัยทัศน์ ครูในยุคโลกาภิวัตน์นั้นต้องเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์
กล่าวคือ มองการณ์ไกลใช้ปัญญาหรือมีความสามารถนารมองเหตุการณ์ต่าง ๆ
ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ครูจะต้องปรับความคิดของตัวเองให้กว้างขึ้น คิดให้ไกลขึ้น
เพื่อพัฒนาความคิดของตัวเองให้ทันต่อเหตุการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
จำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้รอบรู้และทันต่อเหตุการณ์อยู่ตลอดเวลา
อีกทั้งมีแนวคิดที่ยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์หรือเหตุการณ์ที่แตกต่างกันได้
นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาสิ่งใหม่ ๆ
ที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการหรือสภาพปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการสอน ดังนั้น
การที่ครูเป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลและมองทุกสิ่งทุกอย่างอย่างใช้ปัญญานั้น
ย่อมเกิดการพัฒนาในสังคมแห่งการศึกษาอย่างแน่นอน
4.เจนจัดฝึกฝนศิษย์ การมีความรู้ดี สอนดี มีวิสัยทัศน์ดี
แต่ไม่เจนจัดฝึกฝนศิษย์ก็ยังไม่สามารถเป็นครูที่ดีได้ ทั้งนี้เพราะการสอนคนให้มีความรู้ในศิลปะวิชาการต่าง
ๆ นั้น จำเป็นที่ครูจะต้องฝึกฝนศิษย์ให้มีความสามารถ
และเกิดความคล่องแคล่วและชำนาญในศาสตร์วิชานั้น โดยฝึกให้ผู้เรียนได้ลองทำ
ฝึกปฏิบัติในทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้ เช่น วิชาภาษาอังกฤษ
ครูจะต้องให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะภาษาอังกฤษที่จำเป็นทั้ง 4 ทักษะ นั่นคือ ทักษะการฟัง
ครูจะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถฟังแล้วเข้าใจความหมายหรือแก่นเรื่องที่ฟังได้
สามารถตีความออกมาเป็นภาษาหรือคำพูดของตัวเองเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ ได้ ทักษะการพูด
ครูจะต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถพูด สื่อสาร แสดงความคิดเห็นหรืออภิปรายเป็นภาษาอังกฤษได้
พูดแล้วสามารถจับใจความสำคัญจากสิ่งที่พูดได้ ทักษะการอ่าน ครูต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถอ่านเนื้อหา
บทความ หรือเรื่องราวต่าง ๆทั้งจากสื่อสิ่งพิมพ์ และสื่ออื่น ๆ ได้
นอกจากนี้ยังสามารถจับใจความหรือประเด็นสำคัญของเรื่องได้ ทักษะสุดท้าย คือ
ทักษะการเขียน
ครูต้องฝึกผู้เรียนให้สามารถเขียนหรือแสดงความคิดเห็นโดยเรียบเรียงคำหรือประโยคที่มีความถูกต้องทางไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
มีใจความหรือประเด็นที่สำคัญ
ตอดจนข้อคิดหรือสาระที่ผู้อ่านสามารถที่จะซาบซึ้งและเห็นคุณค่าของงานเขียนชิ้นนั้น
5.ดวงจิตใฝ่คุณธรรม
การเจนจัดในการฝึกอบรมศิษย์ให้เป็นคนดีมีคุณธรรมจะไร้ผลถ้าหากผู้ที่ทำหน้าที่ในการฝึกอบรมหรือครูเป็นผู้ที่ไร้คุณธรรมเสียเอง
ทั้งนี้เพราะการจะสั่งสอนให้ผู้ใดเป็นอย่างนั้น
ผู้ที่ทำหน้าที่ในการอบรมสั่งสอนจะต้องกระทำตนให้เป็นตัวอย่างเสียก่อน ดังที่ว่า
“ถ้าพร่ำสอนผู้อื่นฉันใด ก็ควรทำตนฉันนั้น” ครูจึงต้องมีคุณธรรมในใจ
และถ่ายทอดออกมาเป็นพฤติกรรมหรือจริยธรรมที่ผู้เรียนสามารถลอกเลียนแบบหรือปฏิบัติตามและเอาเยี่ยงอย่างได้
เพราะตัวอย่างนั้นสำคัญกว่าทฤษฎีคำสอนหรือสิ่งอื่นใด ถ้าหากครูมีคุณธรรมจริยธรรมที่ดี
ลูกศิษย์หรือผู้เรียนก็จะมีคุณธรรมและจริยธรรมไปด้วย
ในทางตรงกันข้ามหากครูไม่มีคุณธรรมหรือแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะไม่ควร
ผู้เรียนก็จะเอาเยี่ยงอย่างเพราะคิดว่า ถ้าผู้ใหญ่ทำได้ เราก็ทำได้
ดังนั้นครูที่ดีจึงต้องเป็นตัวอย่างให้แก่ผู้เรียนหรือเยาวชนเพื่อเป็นมนุษย์ที่มีความรู้คู่คุณธรรมในสังคมไทยต่อไป
6.งานเลิศล้ำด้วยจรรยา จรรยา แปลว่า
ความประพฤติหรือกริยาอาการที่ควรประพฤติปฏิบัติ
ครูที่ดีต้องงามด้วยความประพฤติหรืองามด้วยกริยาของความเป็นครู
สำหรับจรรยามารยาทที่ครูไทยควรตระหนักและใส่ใจฝึกฝนมีอยู่ 2 นัย คือ 1. จรรยามารยาทแบบไทย
ซึ่งได้แก่การปฏิบัติตามมารยาทไทยให้ถูกต้องเหมาะสม 2. จรรยาวิชาชีพ หรือจรรยาบรรณ
ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์มาตรฐานประการหนึ่งของอาชีพชั้นสูงหรือวิชาชีพ
ครูที่ดีจึงต้องเปี่ยมไปด้วยจรรยามารยาทที่งดงาม
และสื่อถึงความเป็นไทยได้อย่างอ่อนช้อยและเป็นเอกลักษณ์
พร้อมทั้งปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพหรือจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด
ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการประกอบอาชีพครู ดังนั้น
ผู้เป็นครูจึงต้องปฏิบัติตามจรรยามารยาทไทยและจรรยาวิชาชีพหรือจรรยาบรรณความเป็นครูอย่างเคร่งครัด
เพื่อความงดงาม เป็นเอกลักษณ์ ข้อปฏิบัติ และสะท้อนถึงความเป็นไทยได้อย่างอ่อนช้อย
7. มีศรัทธาความเป็นครู
การมีศรัทธาในความเป็นครูเป็นอีกคุณลักษณะหนึ่งที่ช่วยค้ำจุนให้ผู้ประกอบวิชาชีพมีความเป็นครูที่สมบูรณ์ขึ้น
ครูที่มีศรัทธาในความเป็นครูจะมีพฤติกรรมหลักคือ
เห็นความสำคัญของวิชาชีพครูและรักษาชื่อเสียงของวิชาชีพครูอยู่เสมอ
ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่การงาน รักษาความสามัคคี
ช่วยเหลือกิจการของเพื่อนร่วมวิชาชีพเดียวกัน รักในการสอนมากกว่าการทำงานอย่างอื่น
หากครูในสังคมไทยของเรามีศรัทธาในวิชาชีพแล้ว
ประเทศของเราย่อมมีบุคคลหรือเยาวชนมากพอที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองอย่างแน่นอน
เนื่องจากทุกคนต่างรู้หน้าที่ของตนและปฏิบัติตามหน้าที่นั้นอย่างเต็มใจ ดังนั้น
ครูทุกคนควรมีศรัทธาในวิชาชีพของตน เพื่อปฏิบัติตามหน้าที่ขอตนและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป
จากคุณธรรมดังกล่าวข้างต้น
ผู้เขียนมีความเชื่ออเหลือเกินว่าหากครูท่านใดมีคุณธรรมครบทุกข้อ
ย่อมสามารถเป็นครูที่ดีในยุคโลกาภิวัตน์นี้ได้อย่างแน่นอน เพราะมีทั้งความรู้
รูปแบบการสอนที่ดี มีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล
พร้อมทั้งฝึกฝนศิษย์ให้สามารถฝึกทักษะต่าง ๆ จนคล่องได้
มีจิตที่ใฝ่คุณธรรมและจริยธรรมอยู่เสมอ ประกอบด้วยจรรยามารยาทที่งดงามของไทยและปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพหรือจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด
และสิ่งที่สำคัญก็คือการมีศรัทธาในความเป็นครู ถ้าขาดคุณลักษณะในข้อนี้แล้ว
แน่นอนว่าประเทศของเราย่อมไม่มีการพัฒนาและเจริญได้
และการที่ประเทศของเราจะพัฒนาหรือเจริญรุ่งเรืองนั้น จำเป็นที่ครูจะต้องพัฒนาตนเองเพื่อให้เกิดคุณลักษณะตามที่ได้กล่าวมา
และพร้อมที่จะพัฒนาเยาวชนและลูกหลานให้เติบโตเพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศในวันข้างหน้า
Learning Log out classroom:
สัปดาห์ที่ 7
เคล็ดลับการฟังภาษาอังกฤษอย่างไรให้เข้าหู
ปกติแล้วเราสามารอ่านและเขียนภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดี
แต่กลับฟังคนที่พูดภาษาอังกฤษไม่เข้าใจ
หรือตีความหมายผิดหรือเพี้ยนไปจากต้นฉบับไม่เหมือนกับที่ผู้พูดสื่อสารมา ปัญหาดังกล่าวถือเป็นเรื่องธรรมดาของการเรียนภาษา
ไม่ว่าภาษานั้นจะเป็นภาษาใดก็ตาม
เพราะเมื่อภาษาได้ถูกแปลงจากการเรียนเป็นการพูดแล้ว ย่อมมีปัจจัยอื่น ๆ
เข้ามาเกี่ยวข้องอีกมากมายที่ส่งผลให้ประสิทธิภาพของการฟังลดลง
ไม่ว่าจะเป็นน้ำเสียงของผู้พูดที่มีเป็นร้อยเป็นพันน้ำเสียง
หรือสำเนียงการพูดที่แตกต่างกัน การรวมคำให้กระชับ ประโยคแสลง และอีกหลาย ๆ
ปัจจัยที่ส่งผลให้การฟังดูยุ่งยาก สุดท้ายแล้วเราก็จะเกิดอาการเบื่อและไม่อยากฟัง
ลักษณะเช่นนี้เราสามารถฝึกทักษะการฟังภาษาอังกฤษของเราด้วยวิธีหรือเคล็ดลับดี ๆ
ได้ แต่ก่อนอื่นเราจะต้องตั้งกฎหรือบอกกับตัวเองว่า
“ฝึกฟังภาษาอังกฤษจากเรื่องที่ง่ายไปหาเรื่องที่ยาก” แน่นอนว่าถ้าในช่วงแรก ๆ
ของการฝึก เราเลือกฟังเช่น ข่าวที่ยาว ๆ และยาก ซึ่งมีคำศัพท์แปลก ๆ
หรือไม่คุ้นหูอยู่เต็มไปหมด เมื่อเราฟังแล้วก็จะไม่เข้าใจ และอาจเกิดท้อหรือเบื่อขึ้นมาได้
ดังนั้นเราจึงควรเริ่มจากฟังอะไรที่สั้น ๆ ง่าย ๆ ที่เขาพูดช้าให้เข้าใจเสียก่อน
และฝึกแบบค่อยเป็นค่อยไป
วิธีหรือเคล็ดลับการฝึกฟังภาษาอังกฤษอาจทำได้โดย
ในตอนแรกอาจฟังรอบแรกรวดเดียวจบ โดยไม่ดูบทความที่แนบมากับคลิปเสียง สูดหายใจลึก ๆ
หามุมที่นั่นสบาย ๆ ผ่อนคลาย และไม่ต้องไปกังวลว่าจะฟังไม่เข้าใจ
ต่อไปจึงฟังอีกครั้งเพื่อเก็บรายละเอียดเพิ่มเติม แล้วฟังและหยุดคลิปทุก ๆ 5
วินาที ลองอ่านโน้ตย่อ ๆ ของเราดูว่า
เราพอจะจับคอนเซ็ปหรือใจความหลักของเรื่องที่ฟังได้หรือไม่ว่าในคลิปเสีงหรือวีดิโอที่เราฟังนั้นกำลังพูดถึงอะไร
การฝึกในเบื้องต้นเราไม่จำเป็นต้องเข้าใจทุกคำพูด
แค่พอเข้าใจบ้างก็ถือว่าใช้ได้แล้ว หลังจากนั้นปฏิบัติเหมือนเดิม
แต่พยายามเติมคำศัพท์ลงไปให้มากขึ้น และแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ จากการเขียนครั้งแรก
แล้วจึงเขียนเรียบเรียงข้อมูลให้เป็นประโยค ลองใช้ความรู้ด้านไวยากรณ์ภาษาอังกฤษปะติดปะต่อคำและวลีต่าง
ๆ เข้าด้วยกัน และเก็บโน้ตชิ้นแรกออกไป เริ่มฟังคลิปอีกครั้ง
แต่ครั้งนี้ให้หยุดคลิปทุก ๆ 10 วินาที
แล้วเขียนสิ่งที่ได้ยินออกมาเหมือนเดิม
จากนั้นจึงลองนำมาเปรียงเทียบกับโน้ตย่อชิ้นเก่าและลองฟังคลิปเสียงอีกครั้ง โดยอ่านโน้ตย่อของตัวเองตามไปด้วย
หลังจากนั้นเปรียบเทียบโน้ตย่อกับบทความจริงที่ถูกต้อง ถ้าพบว่ามีคำผิดเยอะต้องวิเคราะห์ดูว่า
ปัญหาในการฟังภาษาอังกฤษของเราเกิดจากอะไร บางคนอาจฟังไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจ
และออกเสียงไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักคำศัพท์ หรือมีปัญหากับเสียงหนัก เสียงเบา
การเชื่อมคำ การรวบประโยคซึ่งเราก็ต้องลองแก้ปัญหาเป็นจุด ๆ ไป
สุดท้ายฟังคลิปไปพร้อม ๆ กับการอ่านบทความที่ถูกต้อง เพื่อตรวจสอบดูว่าส่วนไหนบ้างที่เราพลาดไป
จากนั้นจึงลองกลับมาฟังรอบสุดท้ายแบบไม่อ่านโน้ตและบทสนทนาตามเลย
ซึ่งในขั้นนี้เราควรจะเข้าใจเรื่องราวในคลิปหรือวิดีโอได้มากขึ้นแล้ว
แต่การเลือกคลิปเสียงที่เราสนใจจะช่วยกระตุ้นความสนใจให้เราอยากฝึกฝนมากขึ้น
ทักษะการฟังไม่สามารถพัฒนาขึ้นได้ในชั่วข้ามคืน
จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาในการฝึกฝน ทำซ้ำ ๆ อย่างต่อเนื่องสัปดาห์ละ 3-4
ครั้ง โดยอาจฟังแต่ละครั้งไม่กี่นาทีแต่เน้นการฟังบ่อย
ๆ ซึ่งจะได้ผลดีกว่าการฟังแต่ละครั้งเป็นชั่วโมง
การฝึกที่ว่านี้อาจฝึกสัปดาห์ละหนึ่งเรื่องก็ได้
ถ้าหากเราเริ่มรู้สึกว่าทักษะของเราพัฒนาขึ้นแล้ว ระหว่างฟังเราจฝึกพูดไปด้วยก็ได้
การพูดตามจะช่วยทำให้เราเพ่งเล็งหรือให้ความสนใจกับสิ่งที่ฟังมากขึ้น
และยังเป็นการตรวจสอบให้มั่นใจว่าสิ่งที่เราได้ยินนั้นถูกต้องมากยิ่งขึ้นด้วย
ระยะเวลาในการฝึกฝนทักษะเพื่อเพิ่มความสามารถของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน
บางคนอาจใช้เวลาเป็นเดือน หรือบางคนอาจใช้เวลาเป็นปี
ซึ่งทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถในการรับรู้และความมุ่งมั่นของแต่ละคน
การเรียนภาษาไม่มีทางลัด มีเพียงการฝึกฝนเท่านั้นที่จะทำให้เราเก่งขึ้นได้
ยิ่งถ้าหากใครมีความฝันที่จะเรียนต่างประเทศด้วยแล้ว ก็ต้องยิ่งฝึกฝนเพิ่มมากขึ้น
ผลของความพยายามอย่างสุดความสามารถจะตอบแทนเราอย่างคุ้มค่าอย่างแน่นอน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น